5 ข้อดีของการเลือกเรียนสายอาชีพ

5 ข้อดีของการเรียนสายอาชีพ วิทยาลัยเทคโนโลยีจรัลสนิทวงศ์ CTC

เป็นที่ทราบกันดีว่า การศึกษาในหลายประเทศให้ความสำคัญกับการเรียนสายอาชีพพอสมควร เพราะผลผลิตของสายอาชีพ ระดับ ปวช. หรือ ปวส. นั่นคือ "ผู้ชำนาญการ" ในอุตสาหกรรมแต่ละประเภท ตามที่ตนเองเลือกเรียน พูดได้ง่ายๆว่า การเรียนสายอาชีพ คือการบ่มเพาะผู้เรียนให้เป็น ผู้ชำนาญการ ในสาขาอาชีพของผู้เรียนนั่นเอง นี่จึงเป็นคำตอบว่าทำไม สายอาชีพจึงมีโอกาสในการเข้ารับทำงานสูงกว่าสายสามัญ ทั้งในระดับปฎิบัติงาน และระดับผู้ควบคุม จากบทความเกริ่นนำนี้ เรามาดูข้อดีของการเลือกเรียนสายอาชีพกันดีกว่า

ข้อดีของการเลือกเรียนสายอาชีพ

1.เรียนไป ทำงานไป มีรายได้ระหว่างเรียน ระหว่างที่ผู้เรียนกำลังศึกษาอยู่ใน จะได้พบกับประสบการณ์การทำงาน ซึ่งการเรียนสายอาชีพนั้น ไม่ต้องรอเรียนถึงระดับปริญญาตรี ก็สามารถฝึกงานได้เลย เพราะสายอาชีพนั้น เน้น การเรียนรู้ ควบคู่ไปกับการปฏิบัติงานจริง จุดประสงค์ก็เพื่อฝึกพัฒนาให้ผู้เรียนมีความชำนาญงานในสายอาชีพของตัวเอง จากประสบการณ์ทำงานจริงนั่นเอง

2.มีหลักสูตรสาขาให้เลือกมากกว่าที่คิด ปัจจุบันสายอาชีพมีการขยายหลักสูตรสาขาที่ครอบคลุมกับความต้องการแรงงานในแต่ละสาขาอาชีพ ซึ่งนี้เป็นผลจากความต้องการแรงงานที่จบสายอาชีพเพิ่มมากขึ้น หากน้องๆ มีเป้าหมายในอาชีพที่ตนเองอยากทำงานในอนาคต การเลือกเรียนสายอาชีพก็ถือเป็นอีกหนึ่งคำตอบ

3.โอกาสในการเข้ารับทำงานสูง ปัจจุบันมีบันมีบัณฑิตจบใหม่ในปี 2017 จำนวน 160,000 คน ซึ่งแน่นอนว่าเป็นระดับอุดมศึกษา แต่สิ่งที่ตกใจนั่นคือในจำนวนบัณฑิตที่จบมีเปอร์เซ็นต์ การตกงานอยู่ที่ 50% นั่นเป็นเพราะผลผลิตของหลักสูตรที่ผลิตคนไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน แต่สายอาชีพเล็งเห็นความสำคัญในข้อนี้เป็นอย่างยิ่ง สิ่งที่สายอาชีพปรับตัวมาตลอดก็คือการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน จะเห็นได้จากความร่วมมือทั้งในภาครัฐ และเอกชน ที่หันมาส่งเสริมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสายอาชีพมากขึ้น

4.มีวิชาชีพติดตัว ไม่ตกงาน การบ่มเพาะในหลักสูตรของตลอดระยะเวลาการเรียนสาอาชีพนั้นถือว่ามากพอสำหรับที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนมีความชำนาญในวิชาชีพของตนเอง ทั้งในการฝึกงาน และกิจกรรมในรายวิชาต่างๆ สิ่งนี้ก็จะเป็นวิชาชีพติดตัวผู้เรียน ที่จะสามารถนำไปพัฒนาต่อยอด หรือประกอบธุรกิจส่วนตัวในอนาคตได้

5.เทียบโอนเรียนต่อ ป.ตรี 2 ปี หลายคนยังคงมีคำถามกับการเรียนต่อในระดับปริญญาตรีของสายอาชีพ อย่างเช่น จบ ปวส. ไปแล้วจะต้องไปเรียน ป.ตรี กี่ปี หากใช้เวลาเริ่มต้นใหม่ก็คงจะเป็นการเสียเวลา ซึ่งหลายมหาวิทยาลัยก็มีการจัดหลักสูตรการเทียบโอนของ ปวส. เรียนต่อ ป.ตรี ระยะเวลา ก็อยู่ที่ประมาณ 2 ปี คิดง่ายๆ ระยะเวลาเรียนเท่ากัน แต่สายอาชีพได้วุฒิแบบคุณภาพ 3 วุฒิ นั่นคือ วุฒิ ปวช. , ปวส. , ป.ตรี สิ่งนี้ก็เป็นอีกหนึ่งการเลือกใช้วุฒิไปใช้ในการสมัครเข้าทำงาน จากบทความข้างต้นนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งบทความที่ช่วยประกอบการตัดสินใจของผู้เรียน เพราะนั่นหมายถึงอนาคตอาชีพการประกอบอาชีพ การหาข้อมูลประกอบก็ถือเป็นสิ่งที่ดี จะช่วยให้ผู้เรียนทราบถึงความแตกต่างของแต่อาชีพ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสายอาชีพจะจุดประกายความฝันในการประกอบอาชีพของน้องๆ ต่อไปในอนาคต